KJ PROMTIDA
เว็บไซต์สำหรับเก็บผลงานประเมิน PA
นางสาวพรหมธิดา ทองกุทัณฑ์
ตำแหน่ง ครู
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒
ปีการศึกษา 2567
เอกสารกำหนดชั่วโมง
พัฒนาของโรงเรียน
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 20 ชั่วโมง/สัปดาห์ ดังนี้
รายวิชา สังคมศึกษา ม.1 จำนวน 10 ชั่วโมง/สัปดาห์
รายวิชา สังคมศึกษา ม.4 จำนวน 10 ชั่วโมง/สัปดาห์
กิจกรรมสังคมและสาธารณประโยชน์ จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
กิจกรรมชุมนุมการลงทุนในโลกดิจิทัล จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 6 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์
เป้าหมายเชิงปริมาณ
ประเด็นท้าทาย
ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ของผู้จัดทำ
ข้อตกลง ซึ่งปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง คือ การแก้ปัญหา การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังที่สูงกว่าได้) จึงได้เลือกประเด็นท้าทาย เรื่อง การแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ รายวิชาสังคมศึกษา ด้วยสื่อการสอนแบบผสม เรื่อง สิทธิมนุษยชน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่ม
มีการจัดทำรายวิชาและหน่วยการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้
และตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร
ออกแบบหน่วยการเรียนรู้โดยการปรับประยุกต์ให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ท้องถิ่น และเหมาะกับผู้เรียน
ข้าพเจ้าได้สร้างแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้
ผู้เรียนมีทักษะการคิดเชิงวิจารณญาณ มีความรู้ ทักษะ คุณลักษณะ
ประจำวิชา คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และสมรรถนะที่สำคัญตามหลักสูตร โดยมีการปรับประยุกต์ให้สอดคล้อง กับบริบทของสถานศึกษา
ผู้เรียน และท้องถิ่น และใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning ตามโดยใช้เทคนิค ABL : Activity Based โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน
เพื่อกระตุ้นแรงจูงใจให้แก่ผู้เรียน
มีการอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ และส่งเสริมผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ
เรียนรู้และทำงานร่วมกันโดยมีการปรับประยุกต์ให้สอดคล้องกับความแตกต่างของผู้เรียน
การนิเทศการจัดการเรียนรู้
รายวิชาสังคมศึกษา (ส 31101)
สร้างและพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้สอดคล้องกับกิจกรรม
การเรียนรู้ผู้เรียนมีกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสื่อ นวัตกรรม
สร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลที่หลากหลาย และสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และหรือผลการเรียนรู้
1) แบบทดสอบก่อน-หลังเรียนเมื่อผู้เรียนเรียนรู้จบหน่วยการเรียนรู้
2) แบบฝึกหัดในเอกสารประกอบการเรียน
3) แบบประเมินชิ้นงาน
4) แบบสังเกตพฤติกรรม กระบวนการและทักษะการคิดเชิงวิจารณญาณของผู้เรียน
5) แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
การใช้ตารางแสดงคะแนน เพื่อให้นักเรียนกำกับตัวเองในการส่งงานและบันทึกคะแนนการเรียนรู้
ใช้กระบวนการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อ
คุณภาพผู้เรียน
ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน วิจัยในชั้นเรียนเรื่อง การใช้ผังมโนทัศน์ในการสรุปบทเรียน การเรียนการสอนแบบ Active Learning การกำกับพฤติกรรมการส่งงานด้วยตนเอง
ในรายวิชาสังคมศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
และนำความรู้ที่ได้มาวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหาผู้เรียนที่มีผลการเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้เกิดกระบวนการคิด ทักษะชีวิต ทักษะการทำงานทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี
บรรยากาศการใช้สื่อ
ในการจัดการเรียนรู้
จัดบรรยากาศห้องเรียนให้สะอาด สวยงาม และปลอดภัย สร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงาน ในการเรียนการสอน สามารถใช้โปรแกรมพื้นฐาน ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ได้ สามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลสารสนเทศได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และทันต่อเหตุการณ์ และในชั้นเรียน นำสื่อ นวัตกรรม เกม มาใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ในชั้นเรียน
2.1 จัดทำข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชา
มีการจัดทำข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชา เพื่อใช้ในการ
ส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
ข้าพเจ้าได้สรุปสารสนเทศผู้เรียนที่ผ่านเกณฑ์โดยใช้ข้อมูลจากแบบทดสอบก่อน-หลังเรียน แบบฝึกหัด ชิ้นงาน และการทำกิจกรรม สรุปเป็นตารางและแผนภูมิต่าง ๆ และ สรุปสารสนเทศของผู้เรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์เพื่อแจ้งผู้เรียนให้ได้รับการพัฒนาจนกว่าผู้เรียนจะผ่านเกณฑ์
มีการใช้ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียนรายบุคคลและประสาน
ความร่วมมือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาผู้เรียน
2.3 ปฏิบัติงานวิชาการและงานอื่น ๆ ของสถานศึกษา
ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมปฏิบัติงานทางวิชาการ และงานอื่น ๆ ของสถานศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
- หัวหน้างานชุมนุม
- พิธีกรโรงเรียน
- งานประชาสัมพันธ์กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ
- งานประชาสัมพันธ์โรงเรียน
- งานสื่อและนวัตกรรมกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ
ร่วมปฏิบัติงานทางวิชาการ และงานอื่น ๆ ของสถานศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
1) จัดประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน ภาคเรียนละ 1 ครั้งเพื่อติดตามแก้ไขปัญหา
ช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
2) มีการเยี่ยมบ้านนักเรียนทุกภาคเรียน เพื่อติดตามแก้ไขปัญหา ช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
ประชุมผู้ปกครอง
3.1 พัฒนาตนเอง
อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
พัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ โดยเฉพาะ
อย่างยิ่ง การใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
ข้าพเจ้าเข้ารับการพัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ภาษาไทย
และภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการศึกษา สมรรถนะวิชาชีพครู และความรอบรู้ในเนื้อหาวิชาและวิธีการสอน
นำองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้
ข้าพเจ้าได้สร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในการแก้ปัญหาการขาดทักษะการขาดแรงจูงใจในการเรียนของผู้เรียน โดยพูดคุยถึงปัญหา และเสนอแนวทางการแก้ไข เลือกใช้แนวทางที่เหมาะกับห้องเรียนของแต่ละคน โดยข้าพเจ้าได้เลือกการสอนแบบ ABL : Activity Based Learning ในการจัดการเรียนรู้ เพื่อกระตุ้นแรงจูงใจให้ผู้เรียน
ส่วนที่ 2
ประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
ประเด็นท้าทาย เรื่อง การแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ รายวิชาสังคมศึกษา ด้วยสื่อการสอนแบบผสม เรื่อง สิทธิมนุษยชน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่ม
ส่วนที่ 2
ประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
1. ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2561) ควบคู่หลักสูตรสถานศึกษา
และโครงสร้างรายวิชาโดยละเอียด
2. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามประเด็นท้าทาย
3. ศึกษา ค้นคว้า รวบรวม ศึกษาเนื้อหาสาระ จัดแบ่งเนื้อหาในแต่ละบทเรียนให้สอดคล้องกับสื่อผสม และเรียบเรียงลำดับความสำคัญของเนื้อหา
4. เข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ (PLC) เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมทางวิชาการในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
5. กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ผ่านสื่อการเรียนรู้แบบผสม
แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่องสิทธิมนุษยชน (ความรู้เบื้องต้น)
สื่อการเรียนรู้โปรแกรม Prezi เรื่องสิทธิมนุษยชน (ปฏิญญาสากล)
กิจกรรมเกมการเรียนรู้ผ่านโปรแกรม Wordwall
แบบฝึกทักษะการคิด วิเคราะห์ผ่านโปรแกรม Padlet
แบบฝึกหัดผ่านโปรแกรม Quizizz
ใบความรู้
6. จัดทำข้อมูลสารสนเทศแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เพื่อวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล ยกระดับคุณภาพนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์แบบทดสอบ
7. บันทึกผลการเรียนรู้สรุปผลการวัดและประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน นำผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
ส่วนที่ 2
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความสนใจและต้องการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนของนักเรียน
กระตุ้นให้นักเรียนคิดตาม โดยใช้คำถามกระตุ้นให้ นักเรียนคิดหาคำตอบด้วยตนเอง นักเรียนสามารถเลือกเรียนเนื้อหาตามความสนใจ และสามารถเรียนซ้ำ ได้ตามความต้องการของนักเรียนในทุกเวลาผ่านสื่อการสอนแบบผสม สื่อการสอนแบบผสมสร้างขึ้น มีภาพ วิดีโอ คำบรรยายและสื่อมัลติมิเดียประกอบกัน ซึ่งช่วยสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ให้นักเรียนสนใจเรียน ทำให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียนสูงขึ้น จึงส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น
โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒
นายกรวิทย์ เลิศศิริโชติ
ผู้อำนวยการโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒
นางสาวศรินยา วัลภะ
ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา ๒
กราบขอบพระคุณ
ท่านกรรมการทุกท่านเป็นอย่างสูง
นายประพจน์ อังคเรืองรัตนา
รองผู้อำนวยการ
วิทยฐานะรองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนสุขุมนวพันธ์อุปถัมภ์